61 ซอยเพชรเกษม 69 ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160
61 Soi Petchkasem 69, Leabklong Phasricharoen Rd.(north) , Nongkhaem, Bangkok, Thailand 10160
(662) 444-3351-2 (662) 444-0078 silpasiamprinting@gmail.com

รูปแบบการเข้าเล่มหนังสือแบบต่างๆ

การเข้าเล่มหนังสือนั่น มีรูปแบบอยู่หลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบงานพิมพ์และการนำไปงานพิมพ์ไปใช้ โดยรูปแบบการเข้าเล่มหนังสือที่นิยมกันมีดังนี้

1. การเข้าเล่มกาวหัว

การเข้าเล่มแบบนี้เหมาะสำหรับให้ฉีกออกไปใช้โดยเฉพาะ เช่น สมุดใบเสร็จแบบต่างๆ บิลเล่มเล็ก สมุดฉีก หรือกระดาษโน้ต วีธีการเข้าเล่มแบบนี้คือ เอากระดาษมาเรียงกันเป็นตั้งแล้วเอากาวทาที่สันตรงหัวกระดาษ จึงได้ชื่อว่าการเข้าเล่มแบบ “กาวหัว”

รูปภาพจาก freepik.com

2. การเข้าเล่มแบบไสกาว (Adhesive Binding)

Adhesive Binding หรือที่เรียกเป็นภาษาไทยว่า การไสสันทากาว หรือการเข้าเล่มแบบไสกาว เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงามและราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือเล่มที่มีความหนาปานกลางประมาณ 70 หน้าขึ้นไป วิธีเข้าเล่มแบบไสกาวจะนำกระดาษที่เรียงหน้าเป็นเล่มแล้ว มาเข้าเครื่องไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาวที่ขอบสันที่ผ่านการไสด้วยการเลื่อยแล้ว จากนั้นจึงปิดสันด้วยผ้าก๊อชเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้สัน แล้วจึงหุ้มด้วยปกหนังสือ การที่ต้องไสขอบสันก่อนก็เพื่อให้กาวแทรกซึมเข้าไปง่าย การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ไสกาว” การเข้าเล่มแบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้เร็วและมีราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แต่กางหนังสือออกได้ไม่มาก โดยเฉพาะหนังสือที่หนามาก ๆ ถ้ากางหนังสือเต็มที่อาจจะหลุดได้ หนังสือที่นิยมเข้าเล่มแบบนี้ ได้แก่ หนังสือเรียน นิตยสาร และพ็อคเก็ตบุ๊ค นอกจากนี้การเข้าเล่มแบบไสกาวยังเหมาะกับการผลิตหนังสือจำนวนมากในระดับโรงพิมพ์ เนื่องจากมีราคาไม่แพง และมีเครื่องเข้าเล่มสันกาวร้อนช่วยในการเข้าเล่มด้วย ( – ที่มา การเข้าเล่มแบบไสกาว )

รูปภาพจาก freepik.com

3. การเข้าเล่มแบบเย็บอก หรือเย็บมุงหลังคา (Saddle Stitching)

การเข้าเล่มแบบนี้นิยมใช้เย็บสมุด หนังสือ ที่มีจำนวนหน้าไม่มาก (ไม่เกิน 80 หน้า ซึ่งจำนวนหน้าไม่มากนี้ทำให้ไม่สามารถทำให้สันมีความหนาได้) วิธีการก็คือ เอากระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับครึ่ง จากนั้นใช้เครื่องลวดเย็บลวดตรงแนวพับ 2-3 ตัว นิยมใช้เย็บสมุดของนักเรียนนักศึกษา หรือหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อยๆ ไม่เกิน 60-80 หน้า

รูปภาพจาก freepik.com

4. การเข้าเล่มแบบเย็บกี่

การเข้าเล่มแบบนี่ จะเป็นการเข้าเล่มที่ทนทาน และแข็งแรงที่สุด (แต่ราคาก็จะแพงด้วย) การเย็บเล่มแบบนี้จะสามารถกางหนังสือออกได้มาก ยกตัวอย่างเช่น พจนานุกรม ดิกชันนารี สารานุกรม เล่มใหญ่ๆ จำนวนหน้ามากๆ วิธีการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ ก็เป็นวิธีการที่ยุ่งยากมากกว่าวิธีการเข้าเล่มแบบอื่นๆ โดยเอากระดาษทั้งเล่มมาแยกออกเป็นส่วนย่อยหลายๆส่วน แล้วเย็บแยกแต่ละส่วนเป็นเล่มเหมือน เย็บอกหรือเย็บมุงหลังคา แต่ใช้ด้ายเย็บ จากนั้นเอาเล่มย่อยๆ มาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่อีกที แล้วจึงหุ้มด้วยปกอีกชั้น

รูปภาพจาก freeimages.com

5.การเข้าเล่มโดยเข้าห่วง

การเข้าห่วง มีข้อดีที่ทำให้สามารถกางหนังสือออกจนสุดได้ นิยมใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ไม่หนาเกินไปและจำนวนไม่มาก การเข้าเล่มแบบนี้เป็นการเข้าเล่มสำหรับให้ฉีกออกไปใช้ได้ง่าย เช่น ปฏิทิน ไดอารี่ หรือสมุดบันทึก อาจเลือกใช้ห่วงพลาสติก หรือห่วงเหล็กก็ได้ ห่วงเหล็กจะแข็งแรงกว่า แต่ราคาก็แพงกว่าเช่นกัน

รูปภาพจาก freepik.com